กล้อง ICA Ideal ผลิต หรือ ประกอบใน เดรสเดน เยอรมนีตั้งแต่ (ประมาณ) ปี 1910 ถึง 1926 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ใช้ชื่อว่า ICA เพราะจะยุบรวมเข้ากับกลุ่มทุนอื่น ๆ ภายในชื่อ Zeiss Ikon
ICA Ideal รุ่น "111" หรืออีกชื่อหนึ่งคือ "Model A" กล้องพับขนาดเล็ก ใช้แผ่นเพลทขนาด 6.5x9 ซม. และ ฟิล์มแพค ขนาด 2 1/4 x 3 1/4 นิ้ว เป็นกล้องที่อยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่าน จากแผ่นกระจกเคลือบสารไว้แสงชนิดแห้ง ที่เรียกว่า Dry Plate มาเป็นฟิล์มพลาสติกใสเคลือบสารไวแสง ทั้งแบบแผ่น ฟิล์มแพ็ค และ แบบฟิล์มม้วน 120 ที่ใช้กันอยู่จนปัจจุบัน มีเลนส์หลากหลายแบบ ดูจากตัวกล้อง เดิมนั้นออกแบบมาเพื่อใช้กับแผ่นกระจก Dry Plate และฟิล์มพลาสติกแผ่น ที่เรียกว่า Sheet Film Pack ผมลองหาอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ทำให้ใช้กับฟิล์มม้วน ที่เรียกว่า Roll Film ได้ จึงทำให้กล้องตัวนี้ใช้งานกับฟิล์มได้หลายแบบ ...
รายละเอียด และ ราคา แคตตาล๊อค ของ ICA ในยุคนั้น ประมาณปี ค.ศ. 1925
ICA Ideal 111 ถือว่าเป็นกล้องคุณภาพสูง ทั้งฟังชั่นการทำงานปรับได้หลากหลาย และคุณภาพของเลนส์ ในยุคนั้น จากแคตตาล๊อคของ ICA ก็มีรูป และ รายละเอียดของตัวกล้อง ราคาดูจากรุ่นที่ถูกที่สุด คือ $40 ลองเทียบราคา จากปี ค.ศ. 1925 กับปัจจุบัน(ค.ศ. 2024) ก็จะได้ประมาณ $721 คิดเป็นเงินไทยก็ 25,000 บาท ขาดเกินนิดหน่อย
เรามาดูรายละเอียดต่าง ๆ ของกล้องตัวที่เห็นอยู่นี้กัน กล้องราคาสูงในยุคนั้น จะมีอะไร และ ใช้งานกันอย่างไรบ้าง
กล้อง ICA Ideal 111 เป็นกล้องที่พับเก็บได้ ทำให้มีขนาดเล็กพกพาสะดวก
เมื่อกดปุ่มด้านบนของกล้อง ฝาด้านหน้าจะเปิดออก จะเห็นชุดเลนส์ และ รางสำหรับเลื่อนเลนส์ออกมา
จับปุ่มทั้งสองที่อยู่ด้านหน้าเลนส์ บีบแล้วดึงเลนส์ออกมาจนสุด กล้องก็จะพร้อมใช้งาน
ด้านหน้าของกล้องเมื่อกางออกแล้ว และ รายละเอียดต่าง ๆ ของ เลนส์ตัวนี้
เมื่อกางออกมาแล้ว ด้านหน้าของกล้องจะประกอบไปด้วย ชุดเลนส์ ปุ่มหมุนปรับ เลนส์ขึ้น-ลง ช่องสำหรับมองภาพ ระดับน้ำ
ที่รางเลื่อน ถ้าหันกล้องออกจากตัว ก็จะมีปุ่มปรับโฟกัสอยู่ด้านขวา รางเลื่อนเลนส์อยู่กลาง และ สเกลบอกระยะโฟกัสอยู่ด้านซ้าย
รายละเอียดของเลนส์ตัวนี้ โดยปกติกล้องขนาดนี้ จะเห็นว่าเป็นเลนส์ F=10.5cm แต่ตัวนี้เป็น F=9cm ทำให้ได้มุมมองกว้างขึ้น
เป็นเลนส์ Ica "Novar-Anastigmat" 1:6.8 F=9cm COMPUR shutter
ไล่ตามเข็มนาฬิกา บนสุด ที่ 12 นาฬิกา แป้นกลม สำหรับปรับความเร็วชัตเตอร์
ที่ 3 นาฬิกา เป็นไกขึ้นชัตเตอร์ จะไม่ต้องใช้เมื่อใช้ Z (Time) กับ B (Blub)
ที่ 4 นาฬิกา จะมีปุ่มสีเงินกลม เล็ก ๆ ที่ขอบเลนส์ สำหรับปรับค่าช่องรับแสง (f)
ที่ 8 นาฬิกา ไกลั่นชัตเตอร์
ที่ 9 นาฬิกา แป้นกลม สำหรับเปลี่ยนโหมดชัตเตอร์ Z (Time), B (Blub) และ M คือลั่นชัตเตอร์ตามเวลาที่ตั้งไว้
และ ที่ประมาณ 10 นาฬิกา เป็นช่องเสียบสายลั่นชัตเตอร์
ด้านบนของเลนส์ จะเห็นตัวเลข แสดงความเร็วชัตเตอร์ที่แป้นปรับ และ ค่าช่องรับแสงที่ด้านข้างของตัวเลนส์
ด้านขวาของเลนส์ จะเป็นปุ่มปรับสูง-ต่ำ ของตัวเลนส์ ด้านซ้ายมีช่องมองภาพ หมุนได้ แนวตั้ง แนวนอน และ ระดับน้ำ
ที่รางด้านซ้าย จะมีต้วล๊อคเลนส์ และ แป้นบอกระยะโฟกัส เมื่อดึงมาจนสุด ตัวเลนส์จะถูกล๊อคไว้
ต้องดึงสลักที่อยู่หลังปุ่มหมุนปรับโฟกัสออกก่อน จึงจะทำการหมุนหรับระยะโฟกัสได้ กล้องตัวนี้ บอกระยะเป็นหน่วย เมตร
ที่ด้านบนของเบลโล จะมีตัวล๊อคเมื่อใช้งานปกติ ปลดตัวล๊อคออก แล้วเลื่อนรางออกไป
จะขยายเบลโลออกไปเป็น 2 เท่า ทำให้สามารถถ่ายรูปแบบ โคลสอัพ หรือมาโคร 1:1 ได้ใกล้วัตถุ ถึง 9 นิ้ว
ตัวกล้องด้านขวา เรียบง่าย มีช่องสำหรับเกลียวขาตั้งกล้อง ด้านซ้ายเรียบ ๆ และ
ด้านหลัง เปิดฝา มีฮูด และ กระจก Ground Glass สำหรับดู และ โฟกัสภาพ
Brilliant Viewfinder ช่องมองภาพแบบหมุนปรับได้แนวตั้ง แนวนนอน มาพร้อมกับระดับน้ำ
ปุ่มหมุนปรับระดับความสูงของเลนส์ ขึ้น และ ลง
เลนส์สามารถปรับขึ้นและ ลงได้ (Rise and Fall)
อีกทั้งยังสามารถปรับ เลื่อน ซ้าย-ขวา ได้ (Shift)
ด้านบนของตัวกล้อง ขวามือจะมีปุ่มสำหรับปลดล๊อคแผงด้านหลัง เพื่อเปลี่ยนใส่ฟิล์มโฮลเดอร์ ในรูปเป็น โฮลเดอร์สำหรับฟิล์มกระจกแห่ง มีมากับตัวกล้อง
กล้อง ICA Ideal 111 ตัวนี้ ในยุคนั้น ผลิตออกมาเพื่อใช้กับ ฟิล์มกระจก และ ฟิล์มแผ่น แบบ Pack Film ตามรูปด้านซ้าย
ส่วนด้านขวา ผมมีโฮลเดอร์สำหรับใส่ฟิล์มม้วน 120 ลองเอามาประยุกต์ใช้ดู ทดสอบแล้ว ใช้ได้ดี แต่ต้องระวังในการใช้งานนิดหน่อย
การใช้งานในปัจจุบันนี้ Pack Film แบบแผ่น ไม่มีจำหน่ายแล้ว จึงไม่สามารถลองถ่ายได้
ชุดพร้อมใช้งาน เป็นโฮลเดอร์สำหรับฟิล์มกระจกแบบ Dry Plate ที่ปัจจุบันยังมีคนทำออกมาขายอยู่
และ โฮลเดอร์สำหรับฟิล์มม้วน 120 ที่ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ตอนนี้ก็พร้อมออกไปถ่ายรูปแล้วครับ
ตัวอย่างรูป จากกล้อง ICA Idel 111 (Model A)
No.001
ICA Ideal 111 : Novar-Anastimat 9cm f6.8
J. Lane Dry Plate 6.5x9cm ASA2
f25 : 30 min.
HC-110 Dilution B : 5mins
สองรูปข้างบนนี้ ตั้งกล้องตำแหน่งเดียวกัน ถ่ายรูป ทั้งใช้ฟิล์มกระจก Dry Plate และ ฟิล์มม้วน 120 ขาวดำ เอามาดูเปรียบเทียบกันเลย
รูปนี้ถ่ายในที่ร่มไม่มีแสงแดด วัดแสงแล้วได้เวลา 15 นาที เนื่องจากฟิล์มกระจก ISO2 ถ้าเกิน 2 นาที ต้องเพิ่มเวลาอีก 1 เท่าตัว
โชคดีมาก ที่ 30 นาทีนี้ ไม่มีใครเดินผ่าน แสงไม่เปลี่ยนไปมาก และ ไม่มีแดดออกเลย
No.002
ICA Ideal 111 : Novar-Anastimat 9cm f6.5
J. Lane Dry Plate 6.5x9cm ASA2
f25 : 40 Sec.
HC-110 Dilution B : 5mins
ฟิล์มกระจก จะเก็บได้แต่แสงสีฟ้า สังเกตองค์พระ ที่อยู่ข้างใน ฟิล์มกระจก Dry Plate จะไม่เห็นเลย
ความสามรถในการ Rise เลนส์ โดยการเลื่อนเลนส์ขึ้น ช่วยทำให้ถ่ายรูปสถาปัตยกรรม ได้ตรง สวยงาม
รูปนี้เป็นรูปเต็มฟิล์ม ไม่ได้ตัด ครอป หรือ ปรับ Perspective
ความคิดเห็นขับเคลื่อนโดย CComment