ช่วงทศวรรษ 1920 Contessa-Nettel รวมเข้ากับ กลุ่ม Zeiss Ikon กล้องซีรีส์ Cocarette ยังคงผลิตต่อเนื่องมา เช่นเดียวกับกล้องพับได้รุ่นอื่น ๆ ที่มีอยู่มากมายหลายแบบ กล้องรุ่นนี้เป็นกล้องแบบฟิล์มม้วน คุณภาพปานกลาง มีเครื่องหมาย Zeiss ตั้งแต่ปี 1926 จนถึงปี 1929 กล้อง Cocarette ได้รับหมายเลขรุ่น '519' โดยมีรูปแบบต่างๆ เช่น 519/14, 519/2, 519/15 ซึ่งตัวเลขข้างหลัง บอกถึงการใช้ฟิล์มขนาดต่าง ๆ ของกล้องรุ่นนั้น
การโฟกัส ใช้ปุ่มที่อยู่ข้างเลนส์บนแท่นพับ ดันเพื่อเลื่อนชุดเลนส์ไปข้างหน้าหรือข้างหลัง สำหรับรุ่นขั้นสูงที่สามารถขยับเลนส์ในแนวตั้งขึ้นลงได้ กล้องทุกตัวมีช่องมองภาพ Brilliant Viewfinder แบบหมุน แนวตั้ง และ นอนได้ บางรุ่นมีระดับน้ำในตัว และบางรุ่นยังมีช่องมองภาพแบบโครงลวดด้วย
กล้อง Zeiss Ikon ตัวที่เห็นอยู่นี้ เป็นรุ่น 519/15 ใช้ฟิล์มม้วน 116 ซึ่ง ใหญ่กว่า และผลิตมาก่อน ฟิล์มม้วน 120 ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ แต่เพราะฟิล์มใหญ่ ตัวกล้องจีงต้องใหญ่ตาม ทำให้ไม่สะดวกในการพกพา และ ใช้งาน ได้รับความนิยมลดน้อยลง ภายหลังจึงเลิกผลิตฟิล์มม้วน 116 และก็ต้องเลิกผลิตกล้องที่ใช้กับฟิล์ม 116 ไปโดยปริยาย ...
ผมซื้อกล้องตัวนี้มาเพราะชอบที่ การออกแบบความโค้งที่บอดี้ของกล้องอย่างเดียวเลย เห็นปุ๊บอยากได้ปั๊บ โดยไม่มีเหตุผลของการใช้งาน คุณภาพ หรืออื่น ๆ มาเกี่ยวข้อง เลยหาที่ราคาไม่แพงมาก ใช้ได้หรือเปล่าไม่รู้ เอามาตั้งโชว์ก็ยังดี เลยได้ตัวนนี้มา เรามาดูรายละเอียดต่าง ๆ และการเปิดกล้องเพื่อใช้งานกันก่อน
ด้านซ้ายของตัวบอดี้กล้อง(วางตั้ง) จะเรียบ ๆ ไม่มีปุ่มใด ๆ ชอบตรงนี้ที่สุด
ด้านขวาของตัวกล้อง(วางตั้ง) จะมีที่หมุนแกนฟิล์ม ปุ่มเปิดฝาหน้ากล้อง ปุ่มล๊อคชุดโหลดฟิล์ม
และรูเกลียวสำหรับเพลทขาตั้ง ไล่ตามลำดับจากส่วนบนลงมาล่าง
ด้านหน้าฝาเปิดของกล้อง จะมีเหล็กพับสำหรับตั้งกล้องเมื่อกางออก กดปุ่มเปิดฝาหน้าที่ด้านข้าง ฝาจะเปิดออก
และดึงปุ่ม สองปุ่มด้านหน้า เพื่อดึงเลนส์ออกมาตามราง ให้สุดจนถึงจุดหยุดของราง
เมื่อดึงเลนส์ออกมาจนสุดรางแล้ว ด้านข้างของราง จะมีปุ่มเลื่อนโฟกัส ระยะตามตัวเลขที่บอกไว้
ด้านบนของเลนส์ จะมีตัวช่วยมองภาพ Brilliant Viewfinder หมุนได้ จึงดูได้ทั้งแนวตั้ง และ แนวนอน
ด้านหน้าเลนส์ จะมีโครงลวดทรงสี่เหลี่ยม พับได้ เมื่อกางออกมาจะเป็นช่องสำหรับเล็งภาพ
ด้านหลังกล้องฝากลมด้านหลังจะมีแผ่นเหล็กที่สามารถดึงออกมาได้ ดึงออกมาสุดแกน
เพื่อเป็นช่องมองภาพด้านหลัง สัมพันกับโครงลวดด้านหน้า
การออกแบบกล้องของ Contessa-Nettel ดั้งเดิมพยายามทำให้การโหลดฟิล์มนั้นง่าย โดยมีชุดแผ่นเสริมที่ดึงออกมาเพื่อโหลดฟิล์ม และ เลื่อนกลับเข้าไปในกล้อง เนื่องจากไม่สามารถเปิดฝาหลังได้ จึงมีประตูแบบวงกลมที่ด้านหลังของกล้อง เพื่อให้สามาถหมุนเปิดด้านหลัง ช่วยในการทำให้เข้าถึงเลนส์ด้านหลังได้ เพื่อทำความสะอาด หรือถอดเลนส์ออก
เนื่องจาก ด้านหลังไม่มีฝาหลังเปิดเหมือนกล้องฟิล์มทั่ว ๆ ไป
จึงต้องสร้างช่องเปิดเพื่อให้ ถอด หรือทำความสะอาดเลนส์ด้านหลังได้
เลนส์ของกล้องตัวนี้ CarlZeiss Jana Tessar 1:4.5 12cm
ด้านหน้าจะแสดงช่องรับแสง และ ความเร็วชัตเตอร์ สามารถปรับได้จากตัวเลนส์
ด้านขวาของเลนส์ บนสุด เป็นตัวขึ้นชัตเตอร์ ลงมาเป็นช่องเกลี่ยวเสียบสายลั่นชัตเตอร์ ล่างสุด เป็นชัตเตอร์
ปุ่มสำหรับเปิดที่ใส่ม้วนฟิล์ม ถ้าล๊อคปกติ เป็นตัว Z เลื่อนไปอีกทางจะเห็นตัว A ก็จะสามารถทำการถอดออกมาได้
ถอดชุดใส่ฟิล์มออกมา เพื่อทำการโหลดฟิล์ม
ที่เห็นในรูป เป็นแกนฟิล์มม้วน 120 (สีดำ) โดยใช้ตัวเสริม (สีส้ม) จากฟิล์ม 116 แปลงให้ใช้ 120 ได้
เมื่อโหลดฟิล์มแล้ว นำกับเข้าที่เดิม ทำการล๊อคเพื่อไม่ให้หลุดเลื่อนออก เตรียมไปถ่ายรูปได้
คาดว่ากล้องรุ่นนี้ได้หยุดการผลิตลงประมาณปี 1930 โดยสังเกตจาก แคตตาล๊อกของ Zeiss Ikon ในปี 1931 ไม่มีกล้องซีรีส์นี้แล้ว
ข้อมูลจำเพาะของ Zeiss Ikon Cocarette ตัวที่แสดงอยู่นี้
Zeiss Ikon Cocarette 519/15
Made in Germany
Film size: 116 rollfilm
Frame size: 6.5x11cm
Lens: Tessar 1:4.5 f12cm
Shutter: Compur
รูปตัวอย่างจากกล้อง Zeiss Ikon Cocarette 519/15
Zeiss Ikon Cocarette 519 15 Photo Digital Contact Sheet
7 July 2024
Zeiss Ikon Cocarette 519/15
Carl Zeiss Jena Tessar 1:4.5 f12cm
Kentmere Pan 400 120
Pyrocat HD 2:2:500 20c 24:30m
Epson V600 : Photoshop
เนื่องจากด้านหลังกล้องมีช่องกลมสีแดงใส เพื่อให้มองเห็นลำดับฟิล์มที่ถ่ายได้ แต่ฟิล์มที่ใช้นี้ เป็น 120 ซึงเล็กกว่า 116 จึงทำให้เกิดแสงรั่วไปยังฟิล์มได้ ดังรูปตัวอย่างที่เห็นนี้ เพราะตั้งกล้องนานกว่าจะถ่ายได้แต่ละรูป แสงเลยรั่วเข้าฟิล์ม ถ้าจะให้ดี ต้องมีเทปดำปิดกันแสงไว้จะช่วยกันแสงรั่วได้ดีกว่า
รูปแบบเต็มฟิล์ม ขนาดฟิล์มที่ได้ประมาณ 60 x 11 cm.
Zeiss Ikon Cocarette 519/15 Sample Photo 003
ความคิดเห็นขับเคลื่อนโดย CComment