ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ เวบ
nuttakit.com
ผมจัดทำเวบนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะบอกเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่ผมชอบ และ น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเกี่ยวกับการถ่ายรูป ด้วยกล้องที่ใช้ฟิล์ม แบบมือสมัครเล่น กล่าวคือ การบอก เล่า เรื่องราวเกี่ยวกับ การใช้งานกล้องฟิล์ม แบบต่าง ๆ เท่าที่ผมรู้จัก และ มีใช้งานอยู่ การตั้งค่าต่าง ๆ ของกล้อง ที่จะทำให้ถ่ายรูป ได้ตามความต้องการ และอื่น ๆ ในแบบไม่เป็นวิชาการมากนัก เพราะผมก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ในทางเทคนิค มากเท่าไหร่ เน้นในทางปฏิบัติ ใช้งานกล้อง และออกไปถ่ายรูปให้ได้รูปเป็นใช้ได้ หวังว่า ผู้ที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมกัน จะได้ประโยชน์ไปบ้าง ไม่มากก็น้อย หากมีข้อแนะนำ ติติง ใด ๆ โปรดแจ้งมาได้ในทันที จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง โดยส่งข้อความมาที่ nuttakit@nuttakit.com
ขอบคุณครับ
ณัฏฐกิตติ์ สุขเจริญสุข
14 เมษายน 2567
1938 Voigtländer Brillant S
กล้อง Voigtländer ตระกูล Brillant หรือ Brilliant(ชื่อที่ใช้ใน UK) เริ่มสายการผลิตตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 จนถึง ปี ค.ศ.1951 เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์คู่ (TLR Twin Lens Reflex) ที่ออกแบบมาโดยได้รับอิทธิพลมาจากกล้อง Rolleiflex แต่ในรุ่นแรก ๆ นั้น เป็นแบบ Pseudo-TLR คือ รูปแบบกล้องเป็นเลนส์คู่ แบบตายตัว ไม่สามารถเลื่อนโฟกัสวัตถุ พร้อมกัน โดยไม่สามารถดูจากเลนส์ตัวบน แล้วโฟกัสตรงกับเลนส์ตัวล่าง ทำงานคล้ายกับกล้องกล่อง (Box Camera) เลนส์ตัวบน แค่สะท้อนภาพวัตถุ ที่ต้องการถ่ายให้เห็น เท่านั้น เลนส์ตัวล่าง ก็จะคงที่ไม่สามารถเลื่อนเข้าออกได้ แต่จะมีแป้นหมุนสำหรับโฟกัสวัตถุตามที่กำหนดไว้ ตัวกล้องรุ่นแรก ๆ ก็ทำมาจากเหล็กขึ้นรูป ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นใช้ Bakelite แทน อีกทั้งยังมีเลนส์หลายรูปแบบ แตกต่างกันไป กล้องตระกูล Brillant นี้ ใช้ฟิล์มม้วน 120 ถ่ายรูปได้ขนาด 6x6 ซม. จำวน 12 รูป
Voigtländer Brillant S หรือ Focusing Brillant ตัวนี้ เป็นรุ่นสุดท้ายของการผลิตใน ตระกูล Brillant ตัวกล้องทำจาก Bakelite ชุดเลนส์ เปลี่ยนใหม่ ให้สามารถโฟกัสวัตถุได้ ทั้งเลนส์ถ่ายรูป และ เลนส์มองภาพ ...
- รายละเอียด
- Camera
- Twin Lens Reflex Camera
1938 Zeiss Ikon Ikonta A 521
ตอนที่ซื้อกล้องตัวนี้ ยังไม่รู้รายละเอียด หรือประวัติใด ๆ แต่ชอบที่รูปร่าง หน้าตา และ อยากได้กล้อง Medium Format ขนาด 4.5 x 6 ซม. มาลองถ่ายสักตัว เห็นว่า พับเก็บได้ เล็กกระทันรัดดี ดูแล้ว น่าจะพกพาได้สะดวก ใช้ฟิล์มม้วน 120 ที่มีขายทั่วไป ทั้งฟิล์มขาว-ดำ ฟิล์มสี และฟิล์มสไลด์ 1 ม้วน ถ่ายได้ 16 รูป กำลังสนุก ได้ฟิล์มใหญ่กว่ากล้อง 35 มม. ตัวกล้องที่ได้มา ราคาไม่แพง มีซองหนัง และ ฟิลเตอร์สีเหลือง แถมมาด้วย แต่สภาพก็ถลอก ๆ มาตามอายุ ...
- รายละเอียด
- Camera
- Folding Camera
1937 Kodak Jiffy Six-16 Series II
ผลิตขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1937 สิ้นสุดการผลิตปี ค.ศ. 1948 กล้องที่แสดงอยู่นี้ เป็นรุ่นที่ 2 กล้องรุ่นนี้มีแผ่นด้านหน้า เป็นหนังสีดำเรียบ ต่างจากรุ่นแรก ที่ออกแบบลายเส้นด้านหน้า เป็นสไตล์ Art Deco คำต่อท้ายของกล้องรุ่นต่าง ๆ ของ Kodak ในยุนั้น ว่า Six-16 หมายถึงกล้องนั้น ใช้ฟิล์มม้วน 616 ที่ปรับขนาดแกนม้วนฟิล์ม ให้เล็กลงกว่าฟิล์มม้วน 116 แต่มีขนาดของเนื้อฟิล์มเท่ากัน เนื่องจากฟิล์มม้วน 616 รุ่น Six-16 เป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า ฟิล์มม้วน 620 รุ่น Six-20 จึงทำให้ตัวกล้องใหญ่ขึ้นตามไปด้วย แต่ก็แลกมากับการได้รูปที่ใหญ่กว่ามาทดแทน ซึ่งในยุคนั้น จะนิยมพิมพ์รูปแบบ Contact Print คือพิมพ์รูปจากฟิล์ม โดยตรงเลย จึงทำให้ได้รูปที่ใหญ่กว่า โดยใช้ฟิล์มเดิม จะถ่ายรูปได้ขนาด 2 1/2 x 4 1/4 นิ้ว จำนวน 8 รูป ราคากล้องในปี ค.ศ. 1937 จำหน่ายตัวละ $9.00 คิดเทียบเป็น $197.29 ในวันนี้ ถ้าเป็นเงินบาท ก็จะได้ประมาณ 6,850 บาท
ปัจจุบัน ฟิล์มม้วน 616 ที่ใช้กับกล้องตัวนี้ไม่มีขายแล้ว แต่มีคนทำชิ้นส่วนเสริม สำหรับดัดแปลงใช้กับฟิล์มม้วน 120 ที่มีใช้อยู่กันทุกวันนี้ได้ จะทำให้ได้รูปที่มีความกว้างเท่าเดิม แต่ความสูงจะลดลงคล้าย ๆ จะเป็นรูปพาโนรามา ถ่ายได้จำนวน 6 รูป หรืออาจจะ ได้ปลายเพิ่มอีกรูป เป็น 7 รูป ...
- รายละเอียด
- Camera
- Folding Camera
1933 Kodak Six-20 Brownie US Model
Kodak Six-20 Brownie US Model Sample Photo
Kodak Six-20 Brownie US Model ตัวนี้เป็นกล้องกล่อง (Box Camera) ที่ผลิตขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1933 - 1941 รูปแบบ แผ่นปิดด้านหน้าเป็นลาย Art Deco สวยงาม เป็นที่นิยมในยุคนั้น ใช้ฟิล์มม้วน 620 ที่ผลิตโดย Kodak ด้วยเหตุผลบางประการ แต่ผู้ผลิตกล้องยี่ห้ออื่น ๆ ไม่นิยมผลิตกล้องที่ใช้ฟิล์ม 620 นี้ ทำให้หมดความนิยม และ เลิกผลิตไปในปี ค.ศ. 1995 ตัวเนื้อฟิล์มมีขนาดเท่ากับฟิล์มม้วน 120 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่ แกนฟิล์ม และ แป้นขอบแกน ของ 620 จะมีขนาดเล็กกว่า รูปที่ได้จะมีขนาดประมาณ 21/4 x 3 1/4 นิ้ว หรือ 6x9 ซม. จำนวน 8 รูป ...
- รายละเอียด
- Camera
- Box Camera
1926 Kodak No.1 Pocket
กล้องตัวนี้ อยากได้เพราะหน้าตา และชอบตัวหนังสือ KODAK อยู่ตรงบานพับสำหรับตั้งกล้อง ที่ฝาเปิดด้านน้าเลนส์ ออกแนว Art Deco สวยงามดี กล้องรุ่นนี้ผลิตขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1926 - 1932 เป็นกล้องพับ พกพาได้สะดวก ใช้ฟิล์มม้วน 120 ที่มีใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ถ่ายรูปได้ขนาดประมาณ 6x9 ซม. จำนวน 8 รูปต่อ 1 ม้วน เป็นกล้องรุ่นสุดท้ายของ Kodak ที่ใช้กับฟิล์มม้วน 120 หลังจากนี้จะเปลี่ยนรูปแบบฟิล์มม้วน จาก 120 เป็น 620 และ 116 เป็น 616 ซึ่งเป็นรูปแบบฟิล์มม้วนเฉพาะของ Kodak
Autographic คือ ตัวกล้องจะมีช่องด้านหลังฟิล์ม สามารถเลื่อนเปิด เพื่อบันทึกข้อมูลด้วย Stylus ที่มีมาให้ ลงบนด้านหลังของฟิล์มได้เลย โดยฟิล์มที่ใช้ต้องเป็นชนิดที่ใช้สำหรับ Autographic โดยเฉพาะ ในปัจจุบันไม่มีผลิตแล้ว กล้องตัวที่ผมได้มานี้ก็ไม่มี Stylus มาด้วย ...
- รายละเอียด
- Camera
- Folding Camera
หน้า 1 จาก 2